Friday, October 23, 2020
Thursday, October 22, 2020
เเบบทดสอบพร้อมเฉลยบทที่3 เรื่องอาหาร
1.ลิพิดได้จาก?
1.กรดไขมันและกรีเซอรอล 2.กรีเซอรอลเเละน้ำ
3.กรดไขมันและน้ำมัน
2.ข้อใดเป็นกรดไขมันอิ่มตัว
1.ลิโนลีอิก 2.บิวทาริก
3.โอเลอิก
3.ข้อใดกล่าวถูกต้องเดี่ยวกับลิพิด
1.ของเหลวที่อุณหภูมิธรรมดาเรียกว่าไขมัน 2.กรดโอลิอิกได้จากน้ำมันมะพร้าว
3.น้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองเป็นกรดไม่อิ่มตัว
4.กรดไขมันชนิดใดเป็นกรดไม่อิ่มตัว
1.กรดโอลิอิก กรดสเตียริก 2.กรดไลโนเลอิก กรดสเตียริก
3.กรดไลโนเลอิก กรดอะราซิโนดิก
5.ในไขมัน1กรัม จะให้พลังงานเเก่ร่างกายเรากี่แคลรอลี่
1.3 กิโลแคลรอลี่ 2.6 กิโลแคลรอลี่
3.9 กิโลแคลรอลี่
6.ลิพิดต่างจากไขมันอย่างไร
1.ไม่ต่างกันเพียงเพราะความหมายลิพิดกว้างกว่า 2.ต่างกัน เพราะไขมันหมายถึงสารอินทรีย์ที่ ประกอบด้วย C H O ได้จากกการทำปฏิกิริยา กรดไขมัน
3.ไม่มีข้อใดถูก
7.ข้อใดเป็นกรดไขมันอิ่มตัว
1.ลอริก ปาล์มมิติก สเตียริก 2.ลอลิก สเตียริก โอเลอิก
3.สเตียริก ไลโนเลอิก โอเลอิก
8.ข้อใดคือสมบัติของน้ำมัน
1.ละลายน้ำได้ เเละเหม็นหืนได้ 2.ไม่ละลายน้ำมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าน้ำมัน
3.มีความหนาเเน่นน้อยกว่าน้ำ ไม่ละลายน้ำ
9.การป้องกันการเหม็นหืนของไขมันเเละน้ำมันคืออะไร
1.เติมกรดเเละเบส 2.เติมสารกันหืน เช่น วิตามินเอ ดี อี เค
3.เติมสารกันหืนหรือสารยับยั้งเช่น วิตามินอี และซี
10.ไขมันจัดเป็นสารประเภทใด
1.ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว 2.แอลกอฮอล์
3.เอสเทอร์
แบบทดสอบพร้อมเฉลยบทที่ 2 เรื่องน้ำ
1.น้ำที่ใช้อยู่ทุกวันมีการระเหยอยู่ตลอดเวลา เหตุใดจึงไม่หมดจากโลกใบนี้
1พืชมีการคายน้ำ 2.มีวัฏจักรของน้ำ
3.มนุษย์ช่วยกันประหยัดน้ำ 4.สัตว์มีการเเลกเปลี่ยนน้ำ
2.ข้อใดเป็นแหล่งน้ำต่างจากข้ออื่น
1.น้ำตกแม่น้ำ 2.ทะเลสาป ลำคลอง
3.ทะเล มหาสมุทร 4.น้ำใต้ดิน น้ำบาดาล
3.แหล่งน้ำบาดาลอยู่บริเวณใด
1.ในช่องว่างระหว่างหิน 2.ในช่องว่างระหว่างโพรงของถ้ำหิน
3.ในช่องว่างของชั้นดิน 4.ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน
4.ถ้าฝนไหลซึมลงไปในดินเเละไปกักเก็บอยู่ในช่องว่างของชั้นหินซึ่งน้ำซึมผ่านได้ยากเรียกว่าอะไร
1.น้ำใต้ดิน 2.น้ำในดิน
3.น้ำใต้หิน 4.น้ำบาดาล
5.ถ้าฝนไหลซึมลงไปในดินเเละไปกักเก็บอยู่ในช่องว่างของชั้นหินซึ่งน้ำซึมผ่านได้ยากเรียกระดับน้ำตอนบนสุดว่าอะไร
1.ระดับน้ำใต้ดิน 2.ระดับน้ำในดิน
3.ระดับน้ำบนหิน 4.ระดับน้ำบาดาล
6.เมื่อกระเเสน้ำไหลออกสู่ทะเล บริเวณปากเเม่น้ำกระเเสน้ำจะไหลช้าลง ทำให้มีตะกอนทับถมอยู่ตลอดเวลาตะกอนเหล่านี้เรียกว่าอะไร
1.ตะกอนรูปพัด 2.ที่ราบน้ำท่วงถึง
3.สันดอน 4.ดินดอนสามเหลี่ยม
7.วัฏจักรของน้ำหมายถึงอะไร
1.การระเหย การควบเเน่น กลายเป็นไอน้ำ 2.การถ่ายเทความร้อนจากน้ำในเเหล่งน้ำให้กลายเป็นไอ ควบเเเน่เป็นหยดน้ำ
3.การเปลี่ยนเเปลง เครื่องที่ และการหมุนเวียนของน้ำ 4.การไหลเวียนของน้ำบนดิน น้ำใจ้ดิน น้ำบาดาล ตลอดจนน้ำมหาสมุทร
8.เมื่อกระเเสน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนกลายเป็นอะไร
1.เนินตะกอนน้ำพารูปพัด 2.ดินดอนสามเหลี่ยม
3.ที่ราบน้ำท่วมถึง 4.เนินดินน้ำท่วมถึง
9.ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้แผ่นดินงอก
1.กระเเสน้ำมีความเร็วลดลง 2.ปริมาณตะกอนที่กระเเสน้ำพัดพามีมาก
3.ขนาดของตะกอนที่กระเเสน้ำพัดมามีขนาดใหญ่ 4.กระเเสน้ำมีความเร็วเพิ่มขึ้น
10.สัตว์ชนิดใดมีวามสำคัญทางเศรษฐกิจและพบมากในป่าชายเลน
1.กุ้งเเช่บ๊วย 2.กุ้งก้ามกราม
3.ปลาสวาย 4.ปลาเเค้
แบบทดสอบบทที่1 เรื่องอากาศ
1) ในอากาศมีแก๊สชนิดใดอยู่มากที่สุด
ก. ออกซิเจน
ข. ไนโตรเจน
ค. ไฮโดรเจน
ง. คาร์บอนไดออกไซด์
2) การที่กังหันหมุนได้แสดงถึงสมบัติข้อใดของอากาศ
ก. อากาศมีน้ำหนัก
ข. อากาศมีตัวตน
ค. อากาสมีแรงดัน
ง. อากาศมีอุณหภูมิ
3) การคมนาคมทางอากาศจะเดินทางที่ชั้นใดของบรรยากาศ
ก. โทรโพสเฟียร์
ข. สตราโตสเฟียร์
ค. ไอโอโนสเฟียร์
ง. เอกโซสเฟียร์
4) เครื่องมือที่ใช้วัดความดันของมวลอากาศคือชนิดใด
ก. เทอร์มอมิเตอร์
ข. บารอมิเตอร์
ค. ไฮโกรมิเตอร์
ง. แอลติมิเตอร์
5) แก๊สโอโซนในชั้นบรรยากาศมีประโยชน์อย่างไร
ก. ช่วยสังเคราะห์สาร CFC ขึ้นในอากาศ
ข. ดูดกลืนรังสีอินฟาเรดที่ทำให้โลกร้อน
ค. ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง
ง. ทำให้อากาศในโลกบริสุทธิ์เพื่อห่าเชื้อโรคต่าง ๆ
6. ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส มีปริมาณไอน้ำอยู่ 130 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าอากาศอิ่มตัวมีไอน้ำ 200 กรัมต่อลูกบาศก์ อากาศ ขณะนั้นมีความชื้นสัมพัทธ์เท่าไร
ก. 60 %
ข. 65 %
ค. 70 %
ง. 75 %
7). อ่านอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะแห้งได้ 28 องศาเซลเซียส อ่านอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ กระเปาะเปียกได้ 24องศา เซลเซียส ค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นเท่าใด
ก. 62 %
ข. 68 %
ค. 71 %
ง. 74 %
8). ห้องน้ำหนึ่งกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 2.5 เมตร ถ้าห้องนี้มีความหนาแน่นของอากาศ 1.1 กิโลกรัมต่อ ลูกบาสก์เมตร จะมีไอน้ำกระจายอยู่ในห้องนี้เท่าไร
ก. 11.25 กิโลกรัม
ข. 22.50 กิโลกรัม
ค. 24.75 กิโลกรัม
ง. 32.18 กิโลกรัม
9). ลมพายุที่พัดผ่านบริเวณต่าง ๆ แล้วทำให้ฝนตกเสมอคือพายุชนิดใด
ก. ไซโคลน
ข. เฮอร์ริเคน
ค. ทอร์นาโด
ง. ดีเปรสชัน
10). การเกิดลมเกิดจากความแตกต่างของสองบริเวณในเรื่องใด
ก. ความหนาแน่นของอากาศ
ข. อุณหภูมิของอากาศ
ค. ความชื้นของอากาศ
ง. ความดันของอากาศ
เฉลย
1. ข.ไนโตรเจน
2. ค. อากาศมีแรงดัน
3. ข. สตราโตสเฟียร์
4. ข. บารอมิเตอร์
5. ค. ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง
6. ข. 65%
7. ค. 71%
8. ค. 24.75 กิโลกรัม
9. ง. ดีเปรสชัน
10 10. ข. อุณหภูมิของอากาศ
บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร
ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์อาหาร
บรรจุภัณฑ์เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ และมีอัตราการเติบโตควบคู่ไปกับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารมีบทบาทสำคัญในการยืดอายุการเก็บรักษาและรักษาคุณภาพอาหาร ทั้งในด้านกลิ่นสี รสชาติ และความอร่อยให้คงอยู่จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ทั้งยังช่วยให้การขนส่งผลิตภัณฑ์มีความสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการส่งเสริมการตลาด บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงามสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ด้วยตัวเอง
ประเภทของบรรจุภัณฑ์อาหาร
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. บรรจุภัณฑ์กระดาษ เช่น aseptic carton เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีต้นทุนตํ่า สามารถทำการพิมพ์สอดสีได้ง่ายและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
2. บรรจุภัณฑ์แก้ว เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากที่สุด
3. บรรจุภัณฑ์โลหะ เช่น กระป๋อง มีความแข็งแรงทนทางต่อการขนส่ง สามารถเก็บรักษาคุณภาพอาหารได้นาน และใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
4. บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภทคือ ประเภทคงรูป เช่น ขวด ถ้วย ลัง และประเภทอ่อนตัว (flexible packaging) เช่น ฟิลม์พลาสติก ถุง และซองพลาสติก เป็นต้น
- กระป๋อง (can)
- แก้ว (glass)
- ขวดพลาสติก (plastic bottle)
- ฟีล์มพลาสติก (plastic film)
- รีทอร์ทเพาส์ (retort pouch)
- บรรจุภัณฑ์ถุงในกล่อง (bag in box)
- กล่องปลอดเชื้อ (aseptic carton)
วิตามินเเละเกลือเเร่
วิตามิน
เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆ ได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม
วิตามินเอ
ช่วยป้องกันการแพ้แสงสว่างของบางคนผู้ที่ต้องการวิตามินเอมาก คือผู้ที่ต้องใช้สายตามาก วิตามินเอมีมากในไขมันเนย น้ำมันปลา ไข่แดง กะหล่ำปลี พืชตระกูลถั่ว ผักสีแดง ผักสีเหลือง
วิตามินดี
ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกอ่อน และควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด อาหารที่ให้วิตามินดีมีน้อยมาก จะมีอยู่ในพวกน้ำมันตับปลา ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากรังสีอุลตราไวโอเลต ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด
วิตามินซี (หรือกรดแอสคอร์บิก)
ค้นพบครั้งแรกในพริกชนิดหนึ่ง เมื่อปี 1928 โดยนักชีวเคมีชาวฮังกาเรียน อัลเบิร์ต เซนต์ เกอร์กี ประโยชน์ของวิตามินซีคือ ช่วยในการป้องกันจากโรคหวัด สามารถลดระดับของซีรัมคลอเลสเตอรอล (เพราะวิตามินซีจะรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซียม ทำให้คลอเลสเตอรอลแตกกระจายในน้ำได้) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด คางทูม และโพลีโอไวรัส ถ้าหากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมมากเกินไปจะทำให้กระดูกงอก
วิตามินบีรวม
ประกอบด้วย วิตามินบี 1 มีมากในเนื้อหมู ข้าวกล้อง เห็ดฟาง มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้คาร์โบไฮเดรต การทำงานของหัวใจ หลอดอาหารและระบบประสาท วิตามินบี 2 พบมากในตับ ยีสต์ ไข่ นม เนย เนื้อ ถั่ว และผักใบเขียว ปลา วิตามินบี 2 มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก เช่น การเผาผลาญไขมัน และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เป็นต้น วิตามินบี 3 บางทีเรียกว่า ไนอาซิน ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต สามารถใช้ในการักษาโรคปวดศีรษะแบบไมเกรนได้ผล อาหารที่มีไนอาซินได้แก่ ไก่ ยีสต์ ถั่ว และเครื่องในสัตว์ วิตามินบี 6 มีชื่อทางเคมีว่า ไพริดอกซิน (Pyridoxin) ความสำคัญของวิตามินบี 6 คือหากขาดจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ง่าย เพราะวิตามินบี 6 จะช่วยในการเผาผลาญคอเลสเตอรอลอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน อาหารที่มีวิตามินบี 6 เช่น ไก่ ยีสต์ ถั่ว ตับ ปลา และกล้วย เป็นต้น วิตามินบี 12 มีอยู่ในอาหารที่ได้จากสัตว์ เช่น ตับ (มีวิตามินบี 12 มากที่สุด) นม ไข่ เนย วิตามินนี้มีอยู่ในพืชน้อยมาก ความสำคัญของ วิตามินบี 12 มีดังนี้ มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบประสาท มีส่วนในการสร้างกรดนิวคลีอิค (nucleic acid) ซึ่งเป็นพื้นฐานของกรรมพันธุ์ มีส่วนช่วยให้ร่างกายนำไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ และมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท
วิตามินอี
เกลือแร่
ร่างกายประกอบด้วยเกลือแร่ประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ มีดังต่อไปนี้
แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และหัวใจ
ธาตุเหล็ก เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน และนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ
ไอโอดีน ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็นโรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง
แมกนีเซียม มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว (หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้ ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจ
สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมาก เพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรม
โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้า
โปรตีน
โปรตีน (Protein)
โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ คือ ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ไนโตรเจน (N) และในบางชนิดอาจมีกำมะถัน (S) และฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบร่วมด้วยในร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยโปรตีนถึงประมาณร้อยละ 15-25 ของน้ำหนักตัว โดยโปรตีนในร่างกายนอกจากจะมีบทบาทในการเผาผลาญให้พลังงานแก่ร่างกายแล้ว ยังช่วยในการเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ ยังช่วยในการเจริญเติบโต เป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ และช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โปรตีนเป็นสารอาหารที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ โดยจะพบมากในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู ไข่ นม เนยจากสัตว์ เป็นต้น ส่วนในพืชจะพบมากในเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เป็นต้น
1. องค์ประกอบและโครงสร้างของโปรตีน โปรตีนเป็นสารประกอบที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ เกิดจากโมเลกุลของกรดอะมิโน (amino acid) จำนวนมากมาสร้างพันธะเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็นสายยาว โดยกรดอะมิโนมีลักษณะเป็นสารชีวโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันทั้งที่เป็นหมู่อะมิโน (-NH2) มีสมบัติเป็นเบส และหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด
กรดอะมิโนต่าง ๆ จะมีการสร้างพันธะเชื่อมต่อกันเป็นสายยาวจนเกิดเป็นโมเลกุลของกรดอะมิโนต่าง ๆ ว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) ซึ่งเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนแต่ละโมเลกุล
เนื่องจากโปรตีนเกิดจากกรดอะมิโนจำนวนมากมาเชื่อมต่อกัน ดังนั้นสมบัติของโปรตีนจึงมีความสัมพันธ์กับชนิดของกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบ สัดส่วนของกรดอะมิโนแต่ละชนิด และลำดับการเรียงตัวของกรด ซึ่งโปรตีนในธรรมชาติมีกรดอะมิโนอยู่ 20 ชนิด ดังนั้นจึงสามารถเกิดเป็นโปรตีนชนิดต่าง ๆ มากมาย โดยโปรตีนที่แตกต่างกันก็จะมีคุณสมบัติและบทบาทต่อร่างกายที่แตกต่างกันด้วย
2. สมบัติของโปรตีน สารชีวโมเลกุลประเภทโปรตีนมีสมบัติและความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ดังนี้
1) โปรตีนไม่ละลายน้ำ แต่อาจมีบางชนิดที่สามารถละลายน้ำได้บ้างเล็กน้อย
2) มีสถานะเป็นของแข็ง
3) เมื่อถูกเผาไหม้จะมีกลิ่นเหม็น
4) สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) โดยมีกรด ความร้อน หรือเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิด เป็นกรดอะมิโนจำนวนมาก โปรตีน + น้ำ -----------> กรด + กรดอะมิโนจำนวนมาก
5) เมื่อโปรตีนได้รับควมร้อน หรือเมื่อสัมผัสกับสารละลายกรด หรือสารละลายเบส จะทำให้โครงสร้างของโปรตีนเสีย ไป ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เรียกกระบวนการนี้ว่า การแปลงสภาพโปรตีน (denaturation of protein)
6) โปรตีนสามารถเกิดปฏิกิริยากับคอปเปอร์ (II) - ซัลเฟต (CuSO4) ในสภาพที่เป็นเบส เกิดเป็นตะกอนสีม่วง สีม่วง อมชมพู หรือสีน้ำเงิน ซึ่งปฏิกิริยานี้สามารถใช้ในการทดสอบโปรตีนได้
3. โปรตีนในร่างกาย เมื่อเราบริโภคอาหารที่มีโปรตีน โปรตีนเหล่านั้นจะถูกย่อยสลายจนกระทั่งกลายเป็นกรดอะมิโน แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อนำไปสังเคราะห์โปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นกรดอะมิโนทุกชนิดจึงมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เอง 12 ชนิด ส่วนอีก 8 ชนิดเป็นกรดอะมิโนที่ต้องได้รับจากอาหาร ดังนั้นจึงสามารถแบ่งชนิดกรดอะมิโนได้เป็น 2 ชนิด ตามความจำเป็นในการบริโภค ดังนี้
1) กรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acids) เป็นกลุ่มของกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องได้รับจากอาหารต่าง ๆ ได้แก่ เทไทโอนีน (Methionine) ทริโอนีน (Threonine) ไลซีน (Lysine) เวลีน (Valine) ลิวซีน (Leucine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine) และทริปโตเฟน (Tryptophan) ส่วนในเด็กทารกจะต้องการรับกรดอะมิโนเพิ่มอีก 1 ชนิด คือ ฮิสติดีน (Histidine) เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต
2) กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Non-essential amino acids) เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้ มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายไม่ค่อยคลาดแคลน
ร่างกายของคนเราจะนำกรดอะมิโนต่าง ๆ มาใช้สังเคราะห์เป็นโปรตีนซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามบทบาทหน้าที่ของโปรตีนชนิดนั้น ดังตัวอย่างเช่น
- คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย มีหน้าที่ในการสร้างเอ็นและกระดูกอ่อน
- เคราติน (Keratin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างร่างกาย มีหน้าที่ในการสร้างขน ผม เล็บ และผิวหนัง
- อินซูลิน (Insulin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
- แอคติน (Actin) และไมโอซิน (Myosin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
- ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบการลำเลียงสารในกระแสเลือด มีหน้าที่ลำเลียงแก๊ส ออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
- อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่เกี่ยวกับระบบคุ้มกันของร่างกาย มีหน้าที่การสร้างภูมิคุ้มกัน
4. โปรตีนจากอาหาร จะเห็นได้ว่าโปรตีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนอยู่เสมอ โดยอาหารที่มีโปรตีนพบได้ทั้งอาหารที่มาจากสัตว์และจากพืช ซึ่งโปรตีนทั้งสองแหล่งมีความแตกต่างกันดังนี้
1) โปรตีนจากสัตว์เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นอยู่อย่างครบถ้วน ขณะที่โปรตีนจากพืช เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำ ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ 8 ชนิด เช่น ข้าวเจ้าขาดไลซีน ถั่วเหลืองขาดไท โอนีนและทริปโตเฟน เป็นต้น
2) โปรตีนจากสัตว์เป็นโปรตีนที่ย่อยสลายได้ง่าย ขณะที่โปรตีนจากพืชจะย่อยสลายได้ยากกว่า
อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นอยู่อย่างครบถ้วน ได้แก่ ไข่ และน้ำนม ซึ่งนอกจาก จะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว ยังประกอบด้วยไขมัน ธาตุแคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และวิตามินเออีกด้วย จึงถือได้ ว่าอาหารประเภทนี้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
-
สารที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ได้แก่สารเคมีที่มีอยู่ในน้ำ แล้วก่อให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำขึ้น สารมลพิษทางน้ำ สามารถจำแนกออกได้เป็น 6 ประเ...
-
โมเลกุลของน้ำ สมบัติของน้ำ โครงสร้างโมเลกุลของน้ำ น้ำ 1 โมเลกุล (H 2 O) ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอม เชื่อมต่อก...
-
1) ในอากาศมีแก๊สชนิดใดอยู่มากที่สุด ก. ออกซิเจน ข. ไนโตรเจน ค. ไฮโดรเจน ง. คาร์บอนไดออกไซด์ 2) การที่กังหันหมุนได...